สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ร่วม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ตัดสิน “บินโดรนเพื่อการเกษตร” สนามแรก ภาคใต้

 

               สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ตัดสินหาผู้ชนะการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 1 “Thailand Agriculture Drone Competition 2024” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท รอบแรก ระดับภูมิภาค โซนภาคใต้ ที่เมืองร้อยเกาะ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนักศึกษาทั้งจาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชันกันอย่างเต็มที่ โดยการแข่งขันรอบแรก ระดับภูมิภาค จำกัดทีมที่เข้าแข่งขัน จำนวน ภูมิภาคละ 100 ทีม ทีมละ 3-4 คน โดยแบ่งเป็น 5 สนามแข่งขัน ผู้ที่ได้อันดับ 1 ถึง 20 ของแต่ละภูมิภาค จะได้เข้ารอบสุดท้ายระดับประเทศ

นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เผยหลังจากร่วมเป็นกรรมการตัดสินสนามภาคใต้ครั้งนี้ว่า “ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เชิญทางสมาคมฯ ให้มาร่วมเป็นกรรมการตัดสินครั้งนี้ โดยจากการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านการเพาะปลูกและดูแลรักษาพืชของเด็กนักศึกษาสนามภาคใต้นี้ จะเห็นว่ามีการพัฒนาและเริ่มเข้าใจโปรแกรมการบังคับโดรนเพื่อการเกษตรมากยิ่งขึ้น ตนและทีมงาน เชื่อว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับทักษะการควบคุมและซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร และประกอบอาชีพด้านการให้บริการโดรนเพื่อการเกษตรของน้อง ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 1 “Thailand Agriculture Drone Competition 2024″ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนามต่อไปที่ จ.สุพรรณบุรี ครับ”

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อีเมล : otodrace@gmail.com หรือโทร  : 098-239-0784, 098-239-0785 เปิดรับสมัครถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567

ประเภทการแข่งขัน

  • รอบแรก ระดับภูมิภาค โดย จำกัดทีมที่เข้าแข่งขัน จำนวน ภูมิภาคละ 100 ทีม ทีมละ 3-4 คน โดยแบ่งเป็น 5 สนามแข่งขัน ผู้ที่ได้อันดับ 1 ถึง 20 ของแต่ละภูมิภาค จะได้เข้ารอบสุดท้ายระดับประเทศ
    หมายเหตุ เมื่อมีการลงทะเบียนครบ 100 ทีม ในภูมิภาคนั้น ทีมที่สมัครมาทีหลังจะต้องทำการแข่งขันในภูมิภาคที่ยังมีจำนวนไม่ครบ ทางผู้จัดงานจะประกาศให้ทราบต่อไป
  • รอบสุดท้าย ระดับประเทศ โดย ทีมที่ผ่านการแข่งขันรอบแรก ระดับภูมิภาค จำนวนภูมิภาคละ 20 ทีม รวมทั้งหมด 100 ทีม จะได้เข้ามาแข่งขันรอบสุดท้ายที่พื้นที่ส่วนกลางที่ทางผู้จัดการแข่งขันกำหนด

 

#https://study-d.com/

Next Post

มกธ. จับมือ มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิด “ศูนย์ฝึกอบรมทันตกรรมรากฟันเทียม ศูนย์พัฒนารากฟันเทียมไทยเฉลิมพระเกียรติ ร.9”

Thu Sep 26 , 2024
  วันที่ 23 กันยายน 2567 ศาสตราจารย์ พิเศษ ทพญ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ประธานมูลนิธิทันตนวัตกรรม […]