ผู้เชี่ยวชาญชี้เทคโนโลยีไม่อาจแทนที่คนในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

 

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แม้ว่าเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์เชิงรู้สร้าง (Generative AI) กำลังเข้ามาเขย่าแวดวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ยังคงไม่สามารถแทนที่คนได้ในแง่มุมทางสังคมและอารมณ์ความรู้สึก โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.เอเวลินา กาแลกซี (Evelina Galaczi) จากเคมบริดจ์ ยูนิเวอร์ซิตี้ เพรส แอนด์ แอสเซสเมนท์ (Cambridge University Press & Assessment) ได้กล่าวว่า AI ช่วยยกระดับประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษได้ก็จริง แต่ครูผู้สอนจะยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต

เราต่างเห็นว่ามีการใช้เครื่องมือ AI กันมากขึ้น เช่น แชตจีพีที (ChatGPT) ในห้องเรียน เทคโนโลยีสร้างโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่ทำให้เราได้รู้จักโลกที่อยู่ห่างไกล รวมถึงเกมคอมพิวเตอร์ที่ยกระดับการเรียนรู้ไปอีกขั้น” ดร.กาแลกซี กล่าว พร้อมกับเสริมว่า “นวัตกรรมเหล่านี้ยอดเยี่ยมมากและเคมบริดจ์ก็เปิดรับอย่างเต็มใจ แต่เราจะไม่เร่งรีบและทำอะไรโดยไม่ระมัดระวัง ดังนั้น ครูผู้สอนจะยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในห้องเรียนภาษาอังกฤษของเราต่อไป”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.กาแลกซีได้นำเสนอหลักการสำคัญ ประการสู่ความสำเร็จในการบูรณาการ AI เข้ากับห้องเรียนภาษาอังกฤษของเคมบริดจ์ หนึ่งในนั้นคือการรักษาคุณภาพและขอบเขตของการประเมินผลและทรัพยากรการเรียนการสอน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ก็คือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการศึกษา แต่ไม่ใช่เพื่อกำหนดแนวทางการศึกษา ขณะเดียวกัน ดร.กาแลกซียังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการฝึกอบรมครูผู้สอนให้มากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้เทคโนโลยี AI โดยแสดงความเห็นว่า

การเรียนการสอนล้วนเกี่ยวข้องกับคน และ AI ยังคงไม่สามารถแทนที่คนได้ในแง่มุมทางสังคมและอารมณ์ความรู้สึก แน่นอนว่า AI สามารถยกระดับประสบการณ์ได้ แต่ครูผู้สอนจะยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อไป อย่างไรก็ตาม แนวทางการสอนอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีการฝึกอบรมครูผู้สอนและการสร้างความคุ้นเคยกับแนวทางแบบดิจิทัล เพื่อให้ครูผู้สอน “พร้อมสำหรับ AI” และเข้าใจว่าทำอย่างไรคนกับปัญญาประดิษฐ์จึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้ดีที่สุด”

ดร.กาแลกซี กล่าวว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ครูผู้สอนสามารถทำได้ในตอนนี้เพื่อยกระดับประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้ AI หนึ่งในนั้นคือการพัฒนากิจกรรมในห้องเรียนด้วยเครื่องมืออย่างแชตจีพีที โดยครูผู้สอนอาจมอบหมายให้ผู้เรียนแก้ไขหรือรีไรต์สิ่งที่ AI เขียนขึ้นมาเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง นอกจากนี้ ครูผู้สอนอาจให้ผู้เรียนใช้แชตจีพีทีปรับปรุงเรียงความที่ตนเองเขียน จากนั้นให้ผู้เรียนวิจารณ์ผลงานของแชตจีพีที

ดร.กาแลกซี กล่าวเสริมว่า “การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีถือเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ แต่เรายังคงจำเป็นต้องเดินเคียงข้างไปพร้อมกับเทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่นไปสู่ยุคดิจิทัล ดิฉันเพิ่งอ่านเจอคำเปรียบเปรยที่สรุปเรื่องนี้ได้ดีในรายงานเชิงนโยบายของสำนักงานเทคโนโลยีการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ซึ่งบรรยายไว้ว่า อนาคตที่ได้รับการส่งเสริมด้วยเทคโนโลยีเปรียบเหมือนกับจักรยานไฟฟ้ามากกว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่น ดิฉันคิดว่าเป็นการเปรียบเปรยที่ยอดเยี่ยมในการเน้นย้ำถึงความจริงที่ว่า AI ช่วยลดภาระและส่งเสริมความสำเร็จของคน แต่ไม่จำเป็นต้องเข้ามาแทนที่คนอย่างเต็มรูปแบบในการเรียน การสอน และการประเมินผล”

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของดร.เอเวลินา กาแลกซี: https://www.cambridgeenglish.org/news/view/tomorrows-english-assessment-its-still-about-the-people/

 

#https://study-d.com/

Next Post

นศ. ภาพยนตร์รังสิต คว้ารางวัลพิเศษ “Friend energy by GULF” เเคมเปญ “ถ่ายเพื่อนประกอบเพลง เพื่อน(ไม่)สนิท Music Video Contest”

Sat Nov 11 , 2023
  ทีม Fenix & Pham นักศึกษาสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต คว้ารางวัลพิเศษ “Friend […]